วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

Chroma Squad ขบวนการ 5 สีพิกเซล สานต่อภารกิจสู่เกมส์คอนโซล ต้นปี 2017




Bandai Namco Entertainment ได้ประกาศถึง Chroma Squad เกมส์ RPG ของเหล่าสตั๊นแมนที่ผันตัวมาเป็นขบวนการ 5 สีในรายการทีวี ที่เคยให้บริการบน PC เมื่อปี 2015 จะถูกนำเอามาลงใน PS4, Xbox One, PS3, PS Vita และเกมส์มือถือในช่วงต้นปี 2017



เนื้อหาของเกมส์จะเกี่ยวกับ 5 สตั๊นแมนที่ออกจากงาน แล้วมาสร้างทีวีโชว์ที่ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากขบวนการ Power Rangers ในตัวเกมส์ก็จะมีให้เราซื้อขายและอัพเกรดอุปกรณ์ต่างๆ แถมยังมีการสร้างอาวุธและเครื่องจักรกลขนาดยักษ์ เพื่อเอามาต่อสู้กับมอนสเตอร์ ส่วนเป้าหมายของตัวเกมส์ก็เพื่อเพิ่มเรตติ้งให้กับรายการทีวี

Chroma Squad เคยปล่อยได้ออกมาให้เล่นกันตั้งแต่ปี 2015 แล้วแต่มีแค่สำหรับ PC เท่านั้น สำหรับชาว Console ก็รอกันอีกไม่นานครับช่วงต้นปี 2017 ได้เล่นกันแน่นอน ราคาจะอยู่ประมาณ 15 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 520 บาทเท่านั้น



Active Service ฟังก์ชั่นจาก JENNIFER ตรวจปัญหาเว็บแอพพลิเคชั่นแบบเรียลไทม์



เมื่อคนเรามีอาการเจ็บป่วย แล้วการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นไม่อาจหาสาเหตุได้ ก็ต้องใช้วิธีการตรวจสอบที่ละเอียดขึ้น อย่างเช่นในวงการแพทย์ก็คือการ X-ray ตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย เพราะบางครั้งโรคที่หายไป อาจจะไม่ได้หายขาด แต่อาจหลบซ่อนความผิดปกติอยู่ภายในร่างกายก็เป็นได้
สำหรับเว็บแอพพลิเคชั่นก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าในช่วงการพัฒนาแอพฯ อาจจะไหลลื่น ทดสอบใช้งานได้ดีไม่มีสะดุด แต่เมื่อเปิดให้ผู้ใช้งานทดสอบ หรือเปิดใช้งานจริง กลับมีปัญหาตามมามากมายที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในช่วงประมวลผล Transaction ของผู้ใช้ อุปกรณ์ฮาร์ดโแวร์ที่ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory Disk, เครือข่ายต่างๆ รวมทั้งระบบเว็บแอพฯ ที่มีความหลากหลายจนอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย จะตรวจสอบจาก Log file ก็เยอะเสียจนหาสาเหตุได้ยาก
ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ได้ไม่ยาก เมื่อได้มาทำความรู้จักกับฟังก์ชั่น Active Service จากทางJENNIFERSOFT ที่ให้ผลการตรวจสอบที่ละเอียดเปรียบเหมือนการ X-ray ปัญหาบนเว็บแอพพลิเคชั่น

Active Service จะแสดงผลของข้อมูลออกมาเป็น Equalizer Graph ในรูปแบบของกราฟแท่ง ให้สามารถดูได้ง่าย แบ่งสีของแท่งกราฟออกเป็นดังนี้
  • กราฟสีฟ้า (0-1 วินาที)
  • กราฟสีเขียว (1-3 วินาที)
  • กราฟสีส้ม (3-8 วินาที)
  • กราฟสีแดง (มากกว่า 8 วินาที)
ซึ่งการแบ่งเป็นกราฟแบบนี้ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถแยกส่วนที่มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาได้ทันที และสามารถคลิกช่วงกราฟที่น่าสงสัย เพื่อเข้าไปตรวจสอบแอพฯ ที่ทำงานในขณะนั้นได้อีกด้วย

เมื่อผู้ใช้งานคลิกที่แอพฯ น่าสงสัยว่าจะมีปัญหา ก็จะมีข้อมูลต่างๆ รวมทั้ง Stack Trace ที่ช่วยระบุจุดที่มีปัญหาให้ค้นหาได้ง่ายมากขึ้น


และนี่ก็เป็นขั้นตอนง่ายๆ ของการมีผู้ช่วยดีๆ อย่างฟังก์ชั่น Active Service จาก JENNIFERSOFT ให้ผู้ใช้งานสามารถหาต้นเหตุของปัญหาบนเว็บแอพพลิเคชั่น ด้วยขั้นตอนสั้นๆ ไม่กี่ขั้นตอน ก็สามารถเข้าถึงจุดที่มีปัญหาได้อย่างรวดเร็ว